วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การวิจักษ์วรรณคดี

    วรรณคดี หมายถึง  หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี มีคุณค่า  ซึ่งคำว่า วรรณคดี”  ได้ปรากฏในพระราชกฤษฎีกาการตั้งวรรณคดีสโมสร  พ.ศ.  ๒๔๕๗  ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  (รัชกาลที่ ๖ )
 ทั้งนี้หนังสือที่จัดว่าเป็นวรรณคดี ได้แก่  กวีนิพนธ์  ละครไทย  นิทาน  บทละครพูด และพงศาวดารอ่านเพิ่มเติม

คำนมัสการคุณานุคุณ

  คำนมัสการคุณานุคุณ เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย ยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสมอ่านเพิ่มเติม

อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

  อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องของบทละครลำ เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีทั้งกลอน ทั้งความ และทั้งกระบวนการที่ตะเล่นละครประกอบการ และยังเป็นหนังสือที่ดี ในทางที่ตะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ  แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าโครงมาจากนิทานพื้นเมืองของชาวชวา  เอกสารที่เกี่ยวข้องมีดังนี้อ่านเพิ่มเติม


นิทานเวตาล (เรื่องที่10)

นิทานเวตาล (เรื่องที่ 10)
ความเป็นมา

                นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า เวตาลปัญจวิงศติศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ     ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน  ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของอ่านเพิ่มเติม

นิราศนริทร์คำโคลง

    นิราศ เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรกของไทยนั้นคือ โคลงนิราศหริภุญชัย ซึ่งแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา
๑.๑ ลักษณะของนิราศ
 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๔๒ อธิบายว่า นิราศหมายถึง .เรื่องราวที่พรรณนาถึงการจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่างๆอ่านเพิ่มเติม



หัวใจชายหนุ่ม

หัวใจชายหนุ่ม

        หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า รามจิตติเพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ดุสิตสมิตเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือนอ่านเพิ่มเติม

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
ความเป็นมา
             บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดย นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติผู้แต่งอ่านเพิ่มเติม

มงคลสูตรคำฉันท์

  มงคลสูตรคำฉันท์  เป็นวรรณคดี  คำสอน  ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำหลักธรรม ที่เป็นพระคาถาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นคำประพันธ์ที่ ไพเราะ  มีความงดงามทั้งด้านเสียงและความหมาย  สามารถจดจำได้ง่าย  มงคลสูตรคำฉันท์นี้จะเกิดแต่ตัวเราเองได้ก็ต้องเป็นผลมาจากการประพฤติ ปฏิบัติดีของตนเองเท่านั้นอ่านเพิ่มเติม  


มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก

  มหาชาติ  เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  คนไทยรู้จักและคุ้ยเคยกับมหาชาติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย  ดังที่ปรากฏในหลักฐานในจารึกนครชุม  และในสมัยอยุธยาก็ได้มีการแต่งและสวดมหาชาติคำหลวงในวันธรรมสวนะ  ส่วนการเทศน์มหาชาติเป็นประเพณีที่สำคัญในทุกท้องถิ่นและมีความเชื่อกันว่า  การฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียวจะได้รับอานิสงส์มากอ่านเพิ่มเติม

บทอาขยาน

    พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๔๒ ให้นิยามคำว่า
"อาขยาน" ไว้ว่า บทท่องจำ การบอกเล่า การบอก การสวด เรื่อง นิทาน"อาขยาน" อ่านออกเสียงได้ ๒ อย่าง คือ อา - ขะ - หยาน หรือ อา - ขะ -ยาน   การท่องอาขยานในระยะแรก (พ.ศ. ๒๔๗๗ - ๒๔๗๘) เป็นการท่องจำ
บทร้อยกรองที่ถือว่าไพเราะ ซึ่งตัดตอนมาจากหนังสือวรรณคดี โดยให้นำมา
ท่องประมาณ ๓ - ๔ หน้า และมีการท่องบทอาขยานติดต่อกันเรื่อยมาอ่านเพิ่มเติม